วัดสวนดอก
วัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง พญากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา
วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย
วัดพระสิงห์วรวิหาร
อยู่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดินล้านนามานับแต่อดีต พญาผายูกษัตริย์องค์ที่ 5 ในราชวงศ์มังรายโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดนี้ขึ้น ในปีพ.ศ. 1888 พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์สูง 24 ศอกองค์หนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่องค์หนึ่งคือพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร
ตามประวัติของพระพุทธสิหิงส์นั้นเล่าไว้ว่า พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์เม็งราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงรายเพื่อไปประดิษฐานไว้ยังวัดสวนดอก แต่พอราชรถมาถึงวัดลีเชียง ก็ปรากฎว่าติดขัดไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีก ดังนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาจึงให้ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดลีเชียงนี้ ประชาชนนิยมเรียกพระพุทธสิงหิงค์สั้น ๆ ว่า พระสิงห์ จึงได้เรียกชื่อวัดพระสิงห์
เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์ชาวเมืองจะอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้แห่ไปตามถนนรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำโดยทั่วกัน ในวิหารลายคำซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ยังมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องสุพรรณหงส์ และสังข์ทองซึ่งพบเพียงที่นี่แห่งเดียว ยังมีศิลปกรรมอื่นๆ ที่น่าชม ได้แก่ พระอุโบสถตกแต่งแบบศิลปะล้านนา หอไตรประดับด้วยรูปปูนปั้นเทวดา และเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา
ความเชื่อและวิธีการบูชา พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีมะโรง (งูใหญ่) หากได้มานมัสการอย่างน้อยสักครั้งหนึ่งแล้ว จะเป็นมงคลสูงสุดทำให้อายุมั่นขวัญยืน มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุทางลาด: ทางวัดจัดทางลาดสำหรับเข้าห้องส้วมไว้ คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถใช้งานได้
ป้ายสัญลักษณ์: ในวัดที่จัดไว้เป็นป้ายห้องส้วมสาธารณะ
ห้องส้วม: สร้างไว้ 2 ห้องแยกชายหญิง รวมถึงมีห้องผู้สูงอายุ และห้องเด็กอีกด้วย
วัดเจดีย์หลวงวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อยู่ที่ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2024 และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2471 หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ
ในวัดเจีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1839 ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็กๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม 12 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง
วัดพันเตา
ดพันเตา ถนนพระปกเกล้า ติดกับวัดเจดีย์หลวง วิหารเดิมเป็นหอคำหรือท้องพระโรงหน้าของพระเจ้ามโหตรประเทศ เป็นอาคารเครื่องไม้แบบพื้นเมือง ซุ้มประตูประดับไม้แกะสลักรูปนกยูงอันเป็นสัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือซึ่งมองดูวิจิตรและสง่างาม
วัดแสนฝาง
ตั้งอยู่ที่ถนนท่าแพ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีศิลปกรรมพม่าผสมอยู่ โดยเฉพาะเจดีย์ที่มีการตกแต่งลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม นอกจากนี้ยังมีกุฏิเจ้าอาวาสซึ่งสร้างมานานกว่า 100 ปี เป็นจุดที่น่าสนใจอีกด้วย ตามประวัติเล่าว่าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ให้รื้อที่ประทับของพระเจ้ากาวิโรรสสุริวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 6 มาสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้นสร้างเสร็จแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองในปี พ.ศ. 2421
เวียงกุมกาม
เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22
ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยม
ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณเวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513
ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณเวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513
ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คนสนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย
หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้นนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเวียงกุมกามให้เป็นแหล่งวัฒนธรรมเพื่อชุมชนและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ถนนคนเดิน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. สอบถามรายละเีอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม โทร. 0 5327 7322
หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้นนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเวียงกุมกามให้เป็นแหล่งวัฒนธรรมเพื่อชุมชนและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ถนนคนเดิน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. สอบถามรายละเีอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม โทร. 0 5327 7322
วัดเจดีย์เจ็ดยอด
เจดีย์เจ็ดยอด ลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา ด้านนอกพระเจดีย์ก็เช่นกันประดับงานปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิและยืนทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกันไปดูงามน่าชม สถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระยอดเชียงราย ราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน และโปรดให้สร้างสถูปใหญ่บรรจุอัฐิของพระอัยกาธิราช และ สัตตมหาสถาน คือสถานที่สำคัญในพุทธประวัติเจ็ดแห่ง ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิตเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ ราชายตนเจดีย์ ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดเจ็ดยอดเพียงสามแห่ง คือ อนิมิตเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์
ที่วัดนี้เป็นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ ในรัชสมัยพระยาติโลกราช พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์นิกายสิงหล (ลังกาวงศ์) ทรงส่งเสริมการเล่าเรียนทางด้านปริยัติธรรม ทำให้ภิกษุล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลี และในปีพ.ศ. 2020 โปรดให้ประชุมพระเถระชั้นผู้ใหญ่เพื่อชำระพระไตรปิฎก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน) ใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก เป็นครั้งแรกของไทย และถือเป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ในล้านนา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา และศูนย์กลางการศึกษา การอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ และของภาคเหนือตอนบน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์บรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516 ปัจจุบัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้รับการปรับปรุงทั้งเนื้อหาการจัดแสดง อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างภายในพิพิธภัณฑ์ให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่ง
ตั้งอยู่บนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ (เชียงใหม่-ลำปาง) ใกล้ๆ กับวัดเจ็ดยอด รวบรวมสิ่งของที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือไว้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างสมัยล้านนาต่างๆ และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน เครื่องไม้แกะสลัก เครื่องถ้วยภาคเหนือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนาและชาวเขาเผ่าต่างๆ ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดช่วงวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาฟรี รายละเอียด โทร. 0 5322 1308 หรือ
www.thailandmuseum.com
พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. หยุดช่วงวันสงกรานต์ และวันปีใหม่ ค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท นักเรียน นักศึกษาฟรี รายละเอียด โทร. 0 5322 1308 หรือ
www.thailandmuseum.com
สวนสัตว์เชียงใหม่
ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่มีสัตว์มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก มีหมีแพนด้า ฑูตสันถวไมตรีเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน หมีโคอาล่าจากออสเตรเลีย
เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงสัตว์น้ำมีอุโมงค์ยาว 133 เมตร สวนนกเพนกวินและสวนนกฟิ้นช์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามจนได้รับการขนานนามว่าเป็น อัญมณีบินได้ มีรถไฟฟ้ารางเดี่ยวพร้อมระบบปรับอากาศ บริการรับผู้โดยสารได้ครั้งละ 50-70 คน/ เที่ยว ระยะทางวิ่ง 2 กิโลเมตร จอดรับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดเวลา 10.00-16.00 น. เ วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 09.00-16.30 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 290 บาท เด็ก 190 บาท
สวนชมนกนครพิงค์ เป็นกรงนกขนาดใหญ่บนพื้นที่ 6 ไร่ ซึ่งถึอเป็นสวนชมนกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้สัมผัสและเรียนรู้เรื่องราวทางธรรมชาติของนกกว่า 132 ชนิดจากทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติที่ร่มรื่นของน้ำตกกู่ขาว
นอกจากนั้นยังมี ทัวร์ชมสัตว์ป่ายามค่ำคืน Twilight Zooโดยรถยนต์นำชมพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆ ที่ออกหากินยามกลางคืน พร้อมวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ตั้งแต่เวลา 18.30-21.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองทัวร์ได้ที่ โทร. +66 5321 0374, +66 5322 1179, +66 5322 2283www.chiangmaizoo.com
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีพื้นที่ประมาณ 262.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 163,162.50 ไร่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่ริม อำเภอหางดง และอำเภอเมือง ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ ภูเขาที่สูงสลับซับซ้อน ดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยสุเทพ ดอยบวกห้า และดอยปุย เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธาร ทั้งมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญทางศาสนา และทางประวัติศาสตร์
ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย คนไทย ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานมีบริการบ้านพักรายละเอียดติดต่อ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร. +66 2562 0760 หรือสำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th หรืออุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย โทร. +66 5329 5041, +66 5321 0244
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
น้ำตกห้วยแก้ว เป็นน้ำตกเล็กๆ สูงประมาณ 10 เมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6 กิโลเมตร มีน้ำไหลตลอดปี รอบๆ บริเวณสวยงามด้วยทิวทัศน์และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด นอกจากนี้ยังมีที่พักผ่อนนำอาหารไปนั่งรับประทานกันที่ผาเงิบและวังบัวบานอันเป็นสุสานแห่งความรักของสาวบัวบานผู้ถือรักเป็นสรณะ
พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพไปยังพระตำหนักฯ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นพระ ตำหนักประทับแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า สามารถเดินชมโดยรอบตำหนักและบริเวณซึ่งมีแปลงกุหลาบ สวนเฟิร์น และไม้นานาพรรณ โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมเฉพาะวันศุกร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ซึ่งปกติจะปิดในช่วงเวลาตั้งแต่ประมาณกลางเดือนธันวาคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ทั้งนี้นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามจากสำนักงาน ททท.ภาคเหนือเขต 1 (สำนักงานเชียงใหม่) ค่าเข้าชม คนละ 20 บาท ต่างชาติ 50 บาท
หมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ดอยปุย บริเวณหมู่บ้านจำหน่ายของที่ระลึกจำนวนมากซึ่งมีทั้งที่ผลิตภายในหมู่บ้านและนำมาจากที่อื่นวางขายให้แก่นักท่องเที่ยว มีพิพิธภัณฑ์ม้ง สวนดอกไม้ซึ่งมีบริการถ่ายรูปแต่งชุดชาวเขา บริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นดอยอินทนนท์ได้ นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้สะดวกเพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง โดยใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น การเดินทาง หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนดอยปุย ห่างจากพระตำหนักฯ 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอด สามารถเข้าไปเที่ยวด้วยตนเองได้ หรือจะเช่ารถสองแถวจากดอยสุเทพขึ้นไปได้ทุกฤดูกาล ประมาณคันละ 600-900 บาท ค่าโดยสารต่อคนประมาณ
ก่อนการเข้าไปท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ โดยดูได้จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช www.dnp.go.th และแนะนำนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่มีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ ให้ติดต่อสอบถามหรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้าก่อนการเดินทางที่อุทยานแห่งชาติโดยตรง อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ โทร. +66 5329 5041 ตลอด 24 ชั่วโมง และ +66 5321 0244 ระหว่าง 08.00-17.00 น.
วัดพระธาตุดอยสุเทพ
เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนี้เป็นปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่
ตามประวัติแห่งดอยสุเทพนั้นเชื่อกันว่า เดิมภูเขาแห่งนี้เป็นที่อยู่ของฤาษีนามว่า "สุเทวะ" ซึ่งตรงกับคำว่าสุเทพอันเป็น ที่มาของชื่อดอยสูงแห่งนี้ โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพนี้สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 6 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัย
ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นสองส่วน โดยอัญเชิญองค์หนึ่งบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทายว่าหากช้างเชือกนั้นหยุดลงตรงที่ใดก็จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดลงตรงยอดดอยสุเทพแห่งนี้ โดยทำทักษิณาวรรตสามรอบก่อนที่จะล้มลง (ตาย) ดังนั้นพระเจ้ากือนาธรรมิกราชจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระบรมธาตุอันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพ อยู่คู่ฟ้าคู่ดินเชียงใหม่มานับแต่นั้น วัดพระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ ผู้ที่เดินทางมาสักการะที่วัดแห่งนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ได้อย่างชัดเจน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นบันไดนาคไป 300 ขั้น เพื่อไปยังวัด หรือใช้บริการรถกระเช้าขึ้น-ลงดอยสุเทพได้ ระหว่างเวลา 05.30-19.30 น.
งานประเพณีเตียวขึ้นดอยเพื่อสักการะพระธาตุดอยสุเทพจัดเป็นประจำทุกปี โดยมีขึ้นก่อนหน้าวันวิสาขบูชา 1 คืน ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุโดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่าง ๆ มาร่วมขบวนแห่ขึ้นดอยเป็นจำนวนมาก
ความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาด ผ่านอุปสรรคนานาไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียนแล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศ ซึ่งให้อานิสงส์ที่ต่างกัน คือ ทิศเหนือขอให้มีปัญญาดุจพระจัทร์เพ็ญ ทิศใต้ ขอให้ได้เป็นพระภิกษุสงฆ์ได้บวชในบวรพุทธศาสนา ทิศตะวันออกขอให้ได้ขึ้นสวรรค์ ทิศตะวันตกเป็นการเคารพบูชาสูงสุดต่อพระธาตุ สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
การเดินทาง จากตัวเมืองสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสัตว์เชียงใหม่ สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น.
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางลาด: มีทางลาดหลายจุด ส่วนใหญ่มีความชัน ควรมีผู้ช่วยเหลือผู้ที่ใช้ Wheel Chair ในการขึ้นทางลาด
ป้ายสัญลักษณ์: มีหลายจุดได้แก่ทางไปลิฟต์ ด้านหน้าลิฟต์ และบริเวณห้องส้วม
ห้องส้วม: มีห้องส้วมเฉพาะสำหรับคนพิการแบบไม่แยกเพศจำนวน 2 ชุด
ลิฟต์: ทางพระธาตุดอยสุเทพจัดลิฟต์สำหรับคนพิการไว้ 1 ตัว
ราวจับ: มีราวจับบริเวณบันไดและทางลาดเกือบทุกจุด
ทางลาด: มีทางลาดหลายจุด ส่วนใหญ่มีความชัน ควรมีผู้ช่วยเหลือผู้ที่ใช้ Wheel Chair ในการขึ้นทางลาด
ป้ายสัญลักษณ์: มีหลายจุดได้แก่ทางไปลิฟต์ ด้านหน้าลิฟต์ และบริเวณห้องส้วม
ห้องส้วม: มีห้องส้วมเฉพาะสำหรับคนพิการแบบไม่แยกเพศจำนวน 2 ชุด
ลิฟต์: ทางพระธาตุดอยสุเทพจัดลิฟต์สำหรับคนพิการไว้ 1 ตัว
ราวจับ: มีราวจับบริเวณบันไดและทางลาดเกือบทุกจุด
เชียงใหม่ ไนท์ ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ดำเนินการภายใต้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน )ตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมือง ประมาณ 10 กิโลเมตร
ส่วนแสดงสัตว์ในโครงการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ประกอบด้วย
-Jaguar Trail นักท่องเที่ยวสามารถเดินพักผ่อนได้ตามอัธยาศัยรอบทะเลสาบ (Swan Lake) ระยะทาง 1.2 กม. โดยมีจุดเริ่มต้นจากอาคารลานนาวิลเลจด้านร้านอาหาร และสิ้นสุดที่ทางออกใกล้เรือนวารีกุญชร ตลอดระยะทางจะพบกับสัตว์ป่ามากกว่า 400 ตัว หรือ 50 ชนิด อาทิเช่น เสือขาว เสือจากัวร์ หนูยักษ์คาปิลาลา เสือลายเมฆ สมเสร็จบราซิล ม้าแคระ ฮิปโปแคระ ลิงอุรังอุตัง เสือดำ ลิงกระรอก หมีโคอาล่า แมวดาว นกกระเรียนหงอนพู่ นากใหญ่ขนเรียบ ลามา นกคลาสโซโนวี่ เสือปลา
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ ประมาณ 200 ตัว นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ
-Predator Prowl ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กินเนื้อ ประมาณ 200 ตัว นักท่องเที่ยวจะสัมผัสความตื้นเต้นกับสัตว์นักล่าที่มึความดุร้ายโดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.13 กม. อาทิเช่น เสือโคร่งขาว เสือโคร่งอินโดจีน เสือโคร่งเบงกอล สิงโต หมาป่าแอฟริกา หมีควาย หมีหมา กวางเจมส์บ็อค กวางไนยาร่า กวางขาวสปริงบ็อค กวางดำสปริงบ็อค หมาจิ้งจอก อูฐสองโหนก ฯลฯ
-Savanna Safari ส่วนแสดงสัตว์ป่าประเภทสัตว์กีบและสัตว์กินพืชที่มีถิ่นอาศัยในแถบทุ่งหญ้าซาวันนา ประมาณ 320 ตัว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด โดยรถ Tram ขนาด 60 ที่นั่ง ตามระยะทาง 2.43 กม. อาทิเช่น เลียงผา กวางผา กระทิง แรดขาว ไฮยีน่า เสือชีต้า วีลด์เดอบีส ยีราฟ จามรี ละอง ละมั่ง กวางกาเซลล์ หมูป่า กวางบาราสิงกา ฯลฯ โดยระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะพบกับสถาปัตยกรรมจำลองเวียงกุมกาม ซึ่งสะท้อนถึงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
-และในพื้นที่บริการจะเป็นหมู่บ้านล้านนา ซึ่งเป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบแอฟริกาและไทยลานนา ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์อาหาร ศูนย์รวมสินค้า OTOP ของที่ระลึก และเป็นถานีรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังส่วนแสดงสัตว์ และด้านข้างอาคารยังมีลานน้ำพุดนตรี (Fun Plaza) สำหรับเด็กๆ ได้เล่นน้ำขณะรอขึ้นรถ
อัตราค่าเข้าชม
กลางวัน กลางคืน
ชาวไทย ชาวต่างชาติ ชาวไทย ชาวต่างชาติ
เด็ก 25 เด็ก 50 เด็ก 125 เด็ก 300
ผู้ใหญ่ 50 ผู้ใหญ่ 100 ผู้ใหญ่ 250 ผู้ใหญ่ 500
เด็ก 25 เด็ก 50 เด็ก 125 เด็ก 300
ผู้ใหญ่ 50 ผู้ใหญ่ 100
เวลาเข้าชม
ช่วงกลางวัน ช่วงกลางคืน
จันทร์-ศุกร์ 13.00-16.00 ทุกวัน 18.00-24.00
เสาร์-อาทิตย์ 10.00-16.00
หมายเหตุ
จันทร์-ศุกร์ 13.00-16.00 ทุกวัน 18.00-24.00
เสาร์-อาทิตย์ 10.00-16.00
หมายเหตุ
- เข้าฟรี : สำหรับเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 100 ซม.
- รถลากพ่วง : ให้บริการระหว่างเวลา 19.00-22.30 น.
- รถลากพ่วง : ให้บริการระหว่างเวลา 19.00-22.30 น.
การเดินทาง จากเมืองเชียงใหม่ไปตามถนนห้วยแก้ว เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 121 ไปอำเภอหางดง ประมาณ 10 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา
ดอยอินทนนท์นี้เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งพาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า และมาสิ้นสุดที่นี่ สิ่งที่น่าสนใจของดอยนี้ไม่เพียงแต่เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศด้วยความสูง 2,565 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่านั้น แต่สภาพภูมิประเทศและสภาพป่าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าดงดิบ ป่าสน ป่าเบญจพรรณ และอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวจะมีหมอกปกคลุมเกือบทั้งวันและบางครั้งน้ำค้างยังกลายเป็นน้ำค้างแข็ง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้มีผู้มาเยือนที่นี่อย่างไม่ขาดสาย
การเดินทาง ระยะทางจากตัวเมืองขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 106 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-จอมทอง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์ ระยะทาง 48 กิโลเมตรถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ทางค่อนข้างสูงชัน รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดี ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถนั่งรถสองแถวสายเชียงใหม่-จอมทองบริเวณประตูเชียงใหม่ จากนั้นขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารหรือที่น้ำตกแม่กลาง ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31 และหมู่บ้านใกล้เคียง แต่หากต้องการจะไปยังจุดต่าง ๆ ต้องเหมาไปคันละประมาณ 800 บาท
ทางอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ของเส้นทางหมายเลข 1009 มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และมีนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ สัตว์ป่า และอื่น ๆ
บริเวณที่ทำการมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม สำรองที่พักล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. +66 2562 0760 หรือ เว็บไซต์ www.dnp.go.thอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
โทร. +66 5335 5728, +66 5331 1608, เว็บไซต์ www.doiinthanon.com
ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
น้ำตกแม่ยะ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้น ๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบ ๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร
น้ำตกแม่ยะ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่ง เพราะน้ำซึ่งไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงชัน 280 เมตร ลงมากระทบโขดหินเป็นชั้น ๆ เหมือนม่าน แล้วลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง น้ำใสเย็นเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อีกทั้งบริเวณรอบ ๆ น้ำตกเป็นป่าเขาอันสงบเงียบ และมีศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยวตั้งอยู่ด้วย บริเวณน้ำตกสะอาดและจัดการพื้นที่ได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไป 14 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีก 200 เมตร
น้ำตกแม่กลาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ชั้นเดียว สูงประมาณ 100 เมตร ต้นน้ำอยู่บนดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลตลอดปี มีความสวยงามตามธรรมชาติ การเดินทาง จากทางแยกเข้าทางหลวง 1009 ไปอีก 8 กิโลเมตรแยกซ้าย500เมตร เป็นทางลาดยางตลอด
ถ้ำบริจินดา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8-9 ของทางหลวงหมายเลข 1009 ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง จะเห็นทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำลึกหลายกิโลเมตร เพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อย หรือชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” สวยงามมาก มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา บริเวณปากถ้ำจะมีป้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่ อธิบายประวัติการค้นพบถ้ำนี้
น้ำตกวชิรธาร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ “ตาดฆ้องโยง” น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็นและชุ่มชื้น และสะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลา แต่หากเดินเข้าไปจนสุดจะได้สัมผัสกับความงามของน้ำตกมากที่สุด
การเดินทาง จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจากทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับความงามของธรรมชาติรอบด้านตลอดทางเดิน
น้ำตกสิริภูมิ ไหลมาจากหน้าผาสูงชัน เป็นทางยาวสวยงามมาก สามารถมองเห็นได้จากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ เป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า “เลาลึ” ตามชื่อของหัวหน้าหมู่บ้านม้งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก
โครงการหลวงดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่ในบริเวณดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์เป็นสถานีวิจัยดอกไม้เมืองหนาวเป็นหลัก พรรณไม้ที่ปลูกมากที่สุดคือเบญจมาศ เพราะมีสีสันสดใส นอกจากนั้นยังมีโครงการวิจัยสตรอว์เบอรรี โครงการศึกษาและรวบรวมพันธุ์เฟินชนิดต่างๆ โครงการวิจัยกาแฟ โครงการวิจัยฝรั่งคั้นน้ำ ไม้ผล เช่น สาลี่ พลับ กีวี ทิบทิมเมล็ดนิ่ม ฯลฯ ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ เยอบีรา ฯลฯ ผัก เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ เซเลอรี ฯลฯ
ถ้ำบริจินดา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 8-9 ของทางหลวงหมายเลข 1009 ใกล้กับน้ำตกแม่กลาง จะเห็นทางแยกขวามือมีป้ายบอกทางไปถ้ำบริจินดา ภายในถ้ำลึกหลายกิโลเมตร เพดานถ้ำมีหินงอกหินย้อย หรือชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” สวยงามมาก มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในถ้ำด้วย นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุสามารถมองเห็นภายในได้ถนัด เพราะมีอุโมงค์ซึ่งแสงสว่างลอดเข้ามา บริเวณปากถ้ำจะมีป้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่ อธิบายประวัติการค้นพบถ้ำนี้
น้ำตกวชิรธาร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เดิมชื่อ “ตาดฆ้องโยง” น้ำจะดิ่งจากผาด้านบนตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ในช่วงที่มีน้ำมากละอองน้ำจะสาดกระเซ็นไปทั่วบริเวณรู้สึกได้ถึงความเย็นและชุ่มชื้น และสะพานไม้ที่ทอดยาวเข้าไปหาหน้าผานั้นจะเปียกลื่นอยู่ตลอดเวลา แต่หากเดินเข้าไปจนสุดจะได้สัมผัสกับความงามของน้ำตกมากที่สุด
การเดินทาง จากเชิงดอยอินทนนท์ขึ้นไปถึงกิโลเมตรที่ 21 จะเห็นป้ายบอกทางแยกขวาเข้าน้ำตก ลงไป 500 เมตร ถนนจะถึงที่ตัวน้ำตก อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเป็นเส้นทางเดิมอยู่เลยจากทางแยกแรกไปประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามป้ายและเดินจากลานจอดรถลงไปอีก 351 เมตร หากใช้เส้นทางนี้จะได้สัมผัสกับความงามของธรรมชาติรอบด้านตลอดทางเดิน
น้ำตกสิริภูมิ ไหลมาจากหน้าผาสูงชัน เป็นทางยาวสวยงามมาก สามารถมองเห็นได้จากบริเวณที่ทำการอุทยานฯ เป็นสายน้ำตกแฝดไหลลงมาคู่กันแต่เดิมเรียกว่า “เลาลึ” ตามชื่อของหัวหน้าหมู่บ้านม้งซึ่งอยู่ใกล้ ๆ น้ำตกสิริภูมิตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่รถไม่สามารถเข้าไปใกล้ตัวน้ำตกได้ นักท่องเที่ยวต้องเดินเท้าเข้าไปบริเวณด้านล่างของน้ำตก
โครงการหลวงดอยอินทนนท์ ตั้งอยู่ในบริเวณดอยอินทนนท์ ภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์เป็นสถานีวิจัยดอกไม้เมืองหนาวเป็นหลัก พรรณไม้ที่ปลูกมากที่สุดคือเบญจมาศ เพราะมีสีสันสดใส นอกจากนั้นยังมีโครงการวิจัยสตรอว์เบอรรี โครงการศึกษาและรวบรวมพันธุ์เฟินชนิดต่างๆ โครงการวิจัยกาแฟ โครงการวิจัยฝรั่งคั้นน้ำ ไม้ผล เช่น สาลี่ พลับ กีวี ทิบทิมเมล็ดนิ่ม ฯลฯ ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส กุหลาบ เยอบีรา ฯลฯ ผัก เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ เซเลอรี ฯลฯ
ยังมีพืชผักสมุนไพร และไม้ผลขนาดเล็ก ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้ตรา "ดอยคำ" รวมทั้งเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาเทร้าต์สายรุ้ง นอกจากนี้ยังมีประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การทำนาข้าวขั้นบันไดของเผ่ากะเหรี่ยง ประเพณีกินวอของชาวเผ่าม้งบ้านขุนกลาง และแหล่งท่องเที่ยวเพื่อชมความงามธรรมชาติรอบๆพื้นที่ รวมทั้งกิจกรรมดูนกและชมดาว โครงการหลวงฯ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านขุนกลาง ตำบลห้วยหลวง เดินทางตามเส้นทางสู่ดอยอินทนนท์ ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ของทางหลวงหมายเลข 1009 มีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าสู่โครงการฯ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร โครงการหลวงฯนี้ รับผิดชอบส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้แก่กะเหรี่ยงและม้งในพื้นที่
พระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 41.5 ทางด้านซ้ายมือ สร้างขึ้นโดยกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อพ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อพ.ศ. 2535 พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ ฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ ยอดปลีขององค์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา รอบบริเวณสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์ได้อย่างสวยงาม
ยอดดอยอินทนนท์ จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหนดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่
ยอดดอยอินทนนท์ จุดสิ้นสุดของทางหลวงหมายเลข 1009 เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย (2,565 เมตร) มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดปี เป็นที่ตั้งสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทยและเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้ายซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้และหวงแหนดอยหลวงเป็นอย่างมากต้องการที่จะอนุรักษ์ไว้จนชั่วลูกชั่วหลาน ท่านผูกพันกับที่นี่มากจึงสั่งว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งมาไว้ที่นี่
ศูนย์ประชาสัมพันธ์นักท่องเที่ยว อยู่บริเวณใกล้กับยอดดอย แสดงนิทรรศการเรื่องราวของดอยอินทนนท์จากอดีตถึงปัจจุบัน ให้ความรู้ทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ ทางชีววิทยา ป่าไม้ สิ่งมีชีวิต ซึ่งบางชนิดหาดูได้ที่นี่แห่งเดียวในเมืองไทย ผู้มาเยือนจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย
น้ำตกห้วยทรายเหลือง เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้น ๆ เข้าทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามทางหลวงหมายเลข 1192 สายอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นทางดินแดงในช่วงหน้าฝนทางลำบากมากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ
น้ำตกแม่ปาน เข้าทางเดียวกับน้ำตกห้วยทรายเหลือง แต่อยู่เลยไปอีก 500 เมตร และจากจุดจอดรถต้องเดินต่อไปอีก 800 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงจะถึงตัวน้ำตก น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุดของเชียงใหม่ก็ว่าได้ น้ำจะตกลงมาจากหน้าผาซึ่งสูงกว่า 100 เมตร เป็นทางยาว ถ้ามองดูแต่ไกลจะเห็นสายน้ำยาวสีขาวตัดกับสีเขียวของต้นไม้ทำให้ดูเด่น น้ำที่ตกลงมายังเบื้องล่างกระทบโขดหินแตกเป็นฟองกระจายไปทั่วบริเวณทำให้มีความชุ่มชื้น เบื้องล่างมีแอ่งน้ำรองรับอยู่ สามารถพักผ่อนลงอาบเล่นได้
น้ำตกห้วยทรายเหลือง เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำไหลแรงตลอดปี และไหลจากหน้าผาลงมาเป็นชั้น ๆ เข้าทางเดียวกับน้ำตกแม่ปาน ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่แจ่มประมาณ 16 กิโลเมตร แยกจากทางหลวงหมายเลข 1009 ตรงด่านตรวจกิโลเมตรที่ 38 ไปตามทางหลวงหมายเลข 1192 สายอินทนนท์-แม่แจ่ม ประมาณ 6 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปน้ำตก เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นทางดินแดงในช่วงหน้าฝนทางลำบากมากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อ
น้ำตกแม่ปาน เข้าทางเดียวกับน้ำตกห้วยทรายเหลือง แต่อยู่เลยไปอีก 500 เมตร และจากจุดจอดรถต้องเดินต่อไปอีก 800 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10 นาที จึงจะถึงตัวน้ำตก น้ำตกแม่ปานนับว่าเป็นน้ำตกที่ยาวที่สุดของเชียงใหม่ก็ว่าได้ น้ำจะตกลงมาจากหน้าผาซึ่งสูงกว่า 100 เมตร เป็นทางยาว ถ้ามองดูแต่ไกลจะเห็นสายน้ำยาวสีขาวตัดกับสีเขียวของต้นไม้ทำให้ดูเด่น น้ำที่ตกลงมายังเบื้องล่างกระทบโขดหินแตกเป็นฟองกระจายไปทั่วบริเวณทำให้มีความชุ่มชื้น เบื้องล่างมีแอ่งน้ำรองรับอยู่ สามารถพักผ่อนลงอาบเล่นได้
เส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยอินทนนท์ กิ่วแม่ปาน ทางเข้าอยู่กิโลเมตรที่ 42 ด้านซ้ายมือ ระยะทางเดิน 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติแท้จริง ระหว่างทางเดินจะพบป่าดิบเขา (Hill Evergreen) ก่อนผ่านเข้าสู่ทุ่งหญ้าซึ่งเคยเป็นพื้นที่ป่าถูกทำลาย เพื่อเป็นการศึกษาลักษณะการเกิดผลกระทบต่อเนื่องบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่ป่าสมบูรณ์กับพื้นที่ถูกทำลาย หลังจากนั้นทางเดินจะเลาะริมผามีไอหมอกปลิวผ่านตลอดเวลา จะพบดอกกุหลาบพันปี หรือ Rhododendron (ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ขึ้นตามป่าในระดับสูง มีพันธุ์ดอกสีขาวและสีแดง เวลาออกดอกช่วงแรกมีลักษณะเหมือนปลีกล้วย ก่อนที่จะบานเต็มต้นในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ พบมากในแถบเทือกเขาหิมาลัยและเป็นไม้ประจำชาติของเนปาลด้วย) มองลงไปยังเบื้องล่างจะพบทัศนียภาพที่งดงามของอำเภอแม่แจ่ม
การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางโดยติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์อุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปรับประทานในเส้นทางในช่วงฤดูฝน และจะปิดเส้นทางเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวไม่อนุญาติให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานแห่งนี้ ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2545 เพราะมีการจัดการที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการนำเที่ยว
อ่างกาหลวง เส้นทางนี้สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานทุ่มเทให้กับอินทนนท์ และได้เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ เส้นทางนี้มีระยะทาง 1,800 เมตร พื้นที่นี้เป็นหนองน้ำซับในหุบเขา จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ ป่าดิบเขาระดับสูง ลักษณะของพรรณไม้เขตอบอุ่นผสมกับเขตร้อนที่พบเฉพาะในระดับสูง การสะสมของอินทรียวัตถุในป่าดิบเขา ลักษณะอากาศเฉพาะถิ่น พืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้ ลักษณะของต้นน้ำลำธาร และลักษณะของต้นไม้บนดอยอ่างกา เช่นต้นข้าวตอกฤาษีที่ขึ้นตามพื้นดิน (ข้าวตอกฤาษี เป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์สูง จะขึ้นในที่สูงกว่า 2,000 เมตรเท่านั้น และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้น อากาศเย็น) กุหลาบพันปี เป็นต้น ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อีกหลายเส้น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิโลเมตรที่ 38 และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกลุ่มน้ำตกแม่ปาน เป็นต้น แต่ละเส้นใช้เวลาในการเดินต่างกันตั้งแต่ 20 นาที – 7 ชั่วโมง และเหมาะที่จะศึกษาสภาพธรรมชาติที่ต่างกันด้วย ศึกษารายละเอียดเส้นทางได้จากที่ทำการอุทยานฯ และจะต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากที่ทำการฯ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
การใช้เส้นทางนี้ต้องลงทะเบียนขอรับใบอนุญาตให้ใช้เส้นทางโดยติดต่อที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์อุทยานฯ และควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 15 คน ทางอุทยานฯไม่อนุญาตให้นำอาหารเข้าไปรับประทานในเส้นทางในช่วงฤดูฝน และจะปิดเส้นทางเพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัวไม่อนุญาติให้เข้าไปท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 ตุลาคม ของทุกปี เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานแห่งนี้ ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2545 เพราะมีการจัดการที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว และประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการนำเที่ยว
อ่างกาหลวง เส้นทางนี้สำรวจวางแนวและออกแบบเส้นทางเดินโดย คุณไมเคิล แมคมิลแลน วอลซ์ นักสัตววิทยาและอาสาสมัครชาวแคนาดาประจำอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานทุ่มเทให้กับอินทนนท์ และได้เสียชีวิตที่นี่ด้วยโรคหัวใจ เส้นทางนี้มีระยะทาง 1,800 เมตร พื้นที่นี้เป็นหนองน้ำซับในหุบเขา จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ ป่าดิบเขาระดับสูง ลักษณะของพรรณไม้เขตอบอุ่นผสมกับเขตร้อนที่พบเฉพาะในระดับสูง การสะสมของอินทรียวัตถุในป่าดิบเขา ลักษณะอากาศเฉพาะถิ่น พืชที่อาศัยเกาะติดต้นไม้ ลักษณะของต้นน้ำลำธาร และลักษณะของต้นไม้บนดอยอ่างกา เช่นต้นข้าวตอกฤาษีที่ขึ้นตามพื้นดิน (ข้าวตอกฤาษี เป็นพืชที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์สูง จะขึ้นในที่สูงกว่า 2,000 เมตรเท่านั้น และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มชื้น อากาศเย็น) กุหลาบพันปี เป็นต้น ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อีกหลายเส้น เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กิโลเมตรที่ 38 และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกลุ่มน้ำตกแม่ปาน เป็นต้น แต่ละเส้นใช้เวลาในการเดินต่างกันตั้งแต่ 20 นาที – 7 ชั่วโมง และเหมาะที่จะศึกษาสภาพธรรมชาติที่ต่างกันด้วย ศึกษารายละเอียดเส้นทางได้จากที่ทำการอุทยานฯ และจะต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากที่ทำการฯ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
กิจกรรมดูนกบนดอยอินทนนท์ จากการสำรวจพบว่ามีนกอยู่ 380 ชนิด แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นหากต้องการดูนก นักท่องเที่ยวสามารถชมได้ตั้งแต่ บริเวณด่านตรวจที่ 1 จนถึงยอดดอย โดยมีจุดเด่นดังนี้ บริเวณกม. 13, กม. 20, บริเวณที่ทำการฯ, บริเวณกม.ที่ 34.5, กม.ที่ 37 หรือจี๊ป แทรค กิ่วแม่ปาน กม. 42, บนยอดดอยอินทนนท์ และศูนย์บริการข้อมูลนกอินทนนท์ที่ร้านลุงแดง ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 31 หน่วยจัดการต้นน้ำแม่กลาง ให้บริการด้านข้อมูลนกในดอยอินทนนท์ เช่น สมุดบันทึกการพบนกในดอยอินทนนท์ ภาพวาดลายเส้นของนักดูนก แผนที่เส้นทางดูนกดอยอินทนนท์ ภาพถ่าย สไลด์เกี่ยวกับนก ฯลฯ ให้บริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ช่วงที่นักดูนกนิยมมาดูนกกันเป็นฤดูหนาว นอกจากจะได้พบนกประจำถิ่นแล้ว ยังสามารถพบนกอพยพ เช่น นกปากซ่อมดง นกอุ้มบาตร นกเด้าลมหลังเทา นกเด้าลมหลังเหลือง นกเด้าลมดง นกเด้าลมหัวเหลือง นกจาบปีกอ่อนเล็ก นกจาบปีกอ่อนหงอน นกจาบปีกอ่อนสีแดง นกเดินดงสีน้ำตาลแดง ฯลฯ ทางศูนย์ฯจะบริการให้คำแนะนำตลอดจนเป็นสถานที่พบปะสนทนาระหว่างนักดูนก นักศึกษาธรรมชาติและบุคคลทั่วไป เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ดีต่อการอนุรักษ์และรักษาสภาพธรรมชาติ ทำให้ทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารของนกและสัตว์ป่าในดอยอินทนนท์ ให้คงอยู่ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
ก่อนการเข้าไปท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ โดยดูได้จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
www.dnp.goและแนะนำนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่มีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ให้ติดต่อสอบถามหรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้าก่อนการเดินทางที่อุทยานแห่งชาติโดยตรงได้ที่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โทร. +66 5326 8550 ตลอด 24 ชั่วโมง และ โทร. +66 5326 8577 ระหว่าง 08.00-17.00 น.
โป่งเดือดป่าแป๋
โป่งเดือดป่าแป๋ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง เป็นน้ำพุร้อนแบบไกเซอร์ (Geyser) มีอุณหภูมิและแรงดังสูงมาก มีน้ำพุพุ่งจากพื้นดินตลอดเวลา สูงประมาณ 1-2 เมตร มีบ่อใหญ่ 3-4 บ่อ และบ่อเล็ก ๆ กระจายโดยรอบ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น บ้านพัก ห้องอาบน้ำแร่ อ่างอาบน้ำแร่ในร่มและกลางแจ้ง ซึ่งคุณสมบัติของน้ำพุร้อนอย่างหนึ่งคือช่วยรักษาโรคปวดข้อตลอดจนมีบริการนวดแผนไทย
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ตั้งอยู่บนเทือกเขาถนนธงชัย มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 179.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 112,187.5 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและภูเขาสูงสลับซับซ้อน ภูเขาที่สูงที่สุด คือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ฤดูหนาวอากาศเย็น ลมแรง มีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 34 องศาเซลเซียส
สถานที่ที่มีผู้นิยมมาท่องเที่ยว ได้แก่
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง อยู่บริเวณที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก มองเห็นดอยเชียงดาว คอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ได้ และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้กำลังบานสวยงามมาก
หมอกที่เกิดที่นี่คือ หมอกที่เกิดขึ้นในหุบเขา (Radiation Fog) เนื่องจากเวลากลางคืนในหุบเขาอุณหภูมิจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และปรากฏเป็นทะเลหมอกในเวลาเช้าหรือหลังฝนตกใกล้ ๆ กับที่ทำการจะมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีระยะทาง 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง
การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ถึงตลาดแม่มาลัย อ.แม่แตง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 สายเชียงใหม่-ปาย อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจอุทยานฯ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือเดินทางโดยรถประจำทางจากสถานีขนส่งเชียงใหม่ สายเชียงใหม่-ปาย อัตราค่าโดยสาร 40 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพสวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว
จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง อยู่บริเวณที่ทำการอุทยาน เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก มองเห็นดอยเชียงดาว คอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกในช่วงเช้าตรู่ได้ และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้กำลังบานสวยงามมาก
หมอกที่เกิดที่นี่คือ หมอกที่เกิดขึ้นในหุบเขา (Radiation Fog) เนื่องจากเวลากลางคืนในหุบเขาอุณหภูมิจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ และปรากฏเป็นทะเลหมอกในเวลาเช้าหรือหลังฝนตกใกล้ ๆ กับที่ทำการจะมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีระยะทาง 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง
การเดินทาง ไปยังอุทยานฯ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร ถึงตลาดแม่มาลัย อ.แม่แตง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 สายเชียงใหม่-ปาย อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงด่านตรวจอุทยานฯ ซึ่งอยู่ด้านขวามือเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือเดินทางโดยรถประจำทางจากสถานีขนส่งเชียงใหม่ สายเชียงใหม่-ปาย อัตราค่าโดยสาร 40 บาท/คน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพสวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 20 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 7586-7
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกห้วยน้ำดัง โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น
นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตอุทยานฯ ได้แก่ น้ำตกห้วยน้ำดัง โป่งน้ำร้อนท่าปาย น้ำตกแม่เย็น
ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานฯมีบ้านพักบริการ รวมทั้งสถานที่กางเต็นท์ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 0 5326 3910, 0 5354 8491, 0 5347 1669 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานฯมีบ้านพักบริการ รวมทั้งสถานที่กางเต็นท์ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 0 5326 3910, 0 5354 8491, 0 5347 1669 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติจะทำการปิดลานกางเต็นท์ที่ 1-5 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางเดินป่าล่องแพน้ำแม่แตง เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยช้าง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุกปี
ก่อนการเข้าไปท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวควรมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ โดยดูได้จากเว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช www.dnp.go.th และแนะนำนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่มีการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ ให้ติดต่อสอบถามหรือสำรองการเข้าไปใช้บริการล่วงหน้าก่อนการเดินทางที่อุทยานแห่งชาติโดยตรงได้ที่ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5326 3910 ตลอด 24 ชั่วโมง และ 0 5324 8491 ระหว่าง 08.00-17.00 น.
วัดพระธาตุดอยคำ
วัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เดินทางไปได้ตามเส้นทางเลียบคลองชลประทาน จะมีป้ายบอกข้ามคลองไปทางตำบลแม่เหียะ จะพบทางขึ้นเขาไปยังพระธาตุดอยคำ ตามประวัติ เมื่อ พ.ศ. 2509 วัดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการะบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะลงจอดที่สนามบิน
ถนนคนเดินเชียงใหม่
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนคนเดินในจังหวัดเชียงใหม่มีหลายแห่ง ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก เสื้อผ้า อาหาร และสินค้าพื้นเมือง
ถนนคนเดินวัวลาย อยู่ที่ถนนวัวลาย ใกล้กับประตูเมืองเชียงใหม่ เปิดเฉพาะวันเสาร์ เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. พ่อค้าแม่ค้าเป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในบริเวณถนนวัวลายเป็นส่วนใหญ่ จึงมีขนาดเล็กกว่าถนนคนเดินท่าแพ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านทำเครื่องเงิน ซึ่งทั้งผลิตและจำหน่ายสินค้าจำพวกเครื่องเงิน นอกจากนี้ยังมีสินค้าพื้นเมืองมากมายให้เลือกสรร
ถนนคนเดินท่าแพ อยู่บริเวณประตูเมืองท่าแพต่อไปยังถนนราชดำเนิน เปิดเฉพาะวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของทานเล่น โรตี ฯลฯ หากมาเยือนในช่วงอากาศหนาว ๆ เดินเที่ยวกาดกลางคืน ถนนคนเดินเชียงใหม่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งที่นี่เป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่และได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
กาดต้อนกอง วันเสาร์ช่วงเช้า ณ ชุมชนสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม เลือกชมและเลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง เลือกซื้อผักปลอดสารพิษ ไม้ดอกไม้ประดับ ชมสาธิตวิธีการเลี้ยงนกกระทา และการแสดงทางวัฒนธรรมของชุมชนโดยเยาวชนท้องถิ่น โดยกลุ่มเกษตรกร เช่น ปลูกผัก กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น กลองโบราณและการล่องเรือชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำปิง
ถนนคนเดินสายหัตถกรรมสันกำแพง เลือกชม เลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมของกินของฝาก ของที่ระลึก และรับชมการแสดงดนตรีโบราณของสันกำแพง ทุกวันเสาร์เวลา 15.00-22.00 น.
ถนนคนเดินยางเนิ้ง อำเภอสารภี บริเวณถนนสายต้นยาง เส้นทางเชื่อมลำพูนเชียงใหม่ จัดขึ้นทุกวันเสาร์เวลาประมาณ 17.00 น. เป็นต้นไป จำหน่ายสินค้าการเกษตร อาทิ ผักปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์โอทอป ประเภทเซรามิก เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขนม และเครื่องใช้ในครัวเรือน
สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ถนนคนเดินท่าแพ ทางลาด มีการจัดทางลาดไว้ และทางเดินเชื่อมส่วนใหญ่ราบเสมอกันทำให้คนที่ใช้ Wheel Chair สามารถเข้าถึงได้โดยตลอด
ถนนนิมมานเหมินทร์
ถนนนิมมานเหมินทร์ ตั้งอยู่ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ หากจะเปรียบแล้ว ถนนนิมมานเหมินทร์ก็คงคล้ายกับถนนสุขุมวิทของกรุงเทพฯ แม้ความยาวและขนาดของธุรกิจจะสู้กันไม่ได้ แต่เปอร์เซ็นต์ความหรูหราของถนนและร้านค้ามีระดับที่มีอยู่อย่างมากมายก็มิได้ต่างกันเลยอะไรที่ทำให้ถนนซึ่งมีความยาวเพียงกิโลเมตรกว่า ๆ นี้เป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอเมื่อใครสักคนมาเยือนเชียงใหม่ ถึงขนาดว่าถ้าไม่ได้มาเดินช็อปปิ้งบนถนนเส้นนี้ ก็เหมือนว่าจะขาดอะไรไปสักอย่างที่จะทำให้การท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ไม่สมบูรณ์
การเดินเริ่มต้นที่นิมมานเหมินท์ซอย 1 อันเป็นเสมือนตัวแทนของถนนทั้งสายเนื่องจากเต็มไปด้วยร้านระดับเกรดเอ ที่มีการตกแต่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นแกลลอรี่ อาทิ ร้านกองดี แกลลอรี่ หรือร้านขายของตกแต่งบ้านที่มีสินค้าหลากหลายประเภทมากที่สุดของเชียงใหม่ อาทิ ร้านไม้มุงเงิน สุริยันจันทรา ร้านจำหน่ายเทียนหอมอย่างร้านแมวใจดี ไปจนถึงร้านผ้าฝ้ายทอมือที่มีเนื้องานเต็มไปด้วยชีวิตชีวาราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจนถึงหลักหลายหมื่น ถนนนิมมานเหมินทร์เปิดทุกวันตั้งแต่เวลาเที่ยงไปจนถึงช่วงเย็น
อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ หรือชื่อเดิมว่า สวนเฉลิมพระเกียรติ ราชพฤกษ์ จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษาในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ศูนย์กลางการเรียนรู้พืชสวนโลก มีการจัดแสดงพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด การจัดแสดงนิทรรศการด้านการเกษตรและอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อการศึกษางานวิจัย และเป็นแหล่งพบปะกันในกลุ่มเกษตรกร ภายในพื้นที่มีการจัดภูมิสถาปัตย์อย่างสวยงาม
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่เปิดให้เข้าชม ได้แก่
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ที่เปิดให้เข้าชม ได้แก่
- ต้นสนดึกดำบรรพ์อายุกว่า 250 ล้านปี บริเวณประตูทางเข้า
- หอคำหลวง
- สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติ เป็นส่วนที่ทางองค์กรต่าง ๆ ได้มาจัดแสดงภายใต้แนวคิดการจัดสวนตามทฤษฎีการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- สวนนานาชาติ พื้นที่การจัดสวนจากประเทศต่างๆ 33 ประเทศ
- พื้นที่ชมภายในอาคาร ได้แก่ เรือนร่มไท้ โดมไม้เขตร้อนชื้น อาคารพืชทะเลทราย อาคารพืชไร้ดิน อาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- พื้นที่ชมงานภายนอกอาคาร ได้แก่ ไม้ชุ่มน้ำ สวนบัว ไม้ประจำจังหวัด ไม้มงคล และไม้พุทธประวัติ ไม้ดัด และอาคารหอประวัติพืชสวนไทย
สถานที่ที่จะเปิดให้ชมเพิ่มในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ อาคารพืชไม้เมืองหนาว
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 - 18.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 25 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
ภายในมีรถรางบริการ ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 40 คนขึ้นไป สามารถทำหนังสือเรียนผู้อำนวยการอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ตู้ปณ. 170 ปทฝ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับส่วนลดค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5311 4195-6 โทรสาร 0 5311 4196
ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน
ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน (เกี๊ยะ เป็นคำเมืองแปลว่า ต้นสน) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเชียงดาว ขึ้นอยู่กับส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากหน่วยงานมองเห็นยอดดอยเชียงดาวและทะเลหมอกยามเช้า มีแปลงดอกไม้ และแปลงทดลองปลูกกาแฟ มีที่พักบริการแก่นักท่องเที่ยวแต่ควรเตรียมอาหารไปเอง ควรติดต่อขอใช้ที่พักล่วงหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ โทร. 0 2579 7587
การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ 67 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยงานฯ อีกประมาณ 21 กิโลเมตรสภาพทางช่วงนี้ลำบากมากเป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น
ดอยเชียงดาว
ดอยเชียงดาว อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ยอดสูงสุดของดอยเชียงดาว เรียกว่า ดอยหลวงเชียงดาว (เพี้ยนมาจากคำที่ชาวบ้านในละแวกเปรียบเทียบดอยนี้ว่าสูง เพียงดาว) มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนรูปกรวยคว่ำสูง 2,195 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นยอดดอยที่สูงอันดับ 3 ของประเทศรองจากดอยอินทนนท์และผ้าห่มปก จากบนยอดดอยซึ่งเป็นที่ราบแคบๆ สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามรอบด้าน คือ ทะเลหมอกด้านอำเภอเชียงดาว ดอยสามพี่น้อง เทือกดอยเชียงดาว ตลอดจนถึงยอดดอยอินทนนท์อันไกลลิบอากาศเย็น ลมแรง และสมบูรณ์ด้วยดอกไม้ป่าภูเขาที่หาชมได้ยากมากมายรวมทั้งนกและผีเสื้อด้วย (ไม่เหมาะที่จะขึ้นไปยืนบนยอดดอยทีละกลุ่มใหญ่ๆ เพราะจะไปเหยีบย่ำทำลายพรรณไม้บนนั้นได้แม้จะโดยไม่ตั้งใจก็ตาม)
การเข้าไปใช้พื้นที่ต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ อย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการเดินทาง รายละเอียด โทร. 0 2561 2947
การเดินทางสู่ยอดดอยเชียงดาวเริ่มที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถติดต่อคนนำทาง ลูกหาบ รวมทั้งรถไปส่งที่จุดเริ่มเดินได้ โดยค่าเช่ารถประมาณ 900 บาท ค่าจ้างลูกหาบประมาณวันละ 300 บาทต่อลูกหาบหนึ่งคน บนดอยเชียงดาวไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ นักท่องเที่ยวต้องเตรียมตัวไปด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน อาหาร และน้ำ
ส่วนเส้นทางลงนิยมใช้ทางสายบ้านถ้ำซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำเชียงดาว เพราะมีทางสูงชันสามารถลงได้รวดเร็วกว่าแต่ไม่เหมาะกับการขึ้น
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริจัดตั้งบริเวณป่าขุนแม่กวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ พื้นที่ประมาณ 8,500 ไร่ ให้เป็นศูนย์การศึกษาทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคเหนือ และเผยแพร่แก่ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วยตนเองต่อไป โดยศึกษาพัฒนาป่าไม้ 3 อย่าง 3 วิธี เพื่อประโยชน์ 4 อย่างคือ มีไม้ใช้สอย ไม้ผล ไม้เชื้อเพลิง ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนความชุ่มชื้นเอาไว้เป็นประโยชน์อย่างที่ 4 และพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลัก โดยต้นทางเป็นการศึกษาสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร และปลายทางเป็นการศึกษาด้านการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ปศุสัตว์และโคนม รวมทั้งเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ และนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผลต่อไป ดังพระราชดำริว่า "ให้ศูนย์ศึกษาพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต"
ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. หากต้องการวิทยากรนำชมติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. 0 5338 9228-9, 0 5324 8004 โทรสาร 0 5324 8483 และผู้ที่ต้องการใช้บ้านพักรับรอง หรือกางเต็นท์พักแรมต้องนำอุปกรณ์มาเองโดยติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า เว็บไซต์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
ผู้ที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. หากต้องการวิทยากรนำชมติดต่อล่วงหน้าที่ โทร. 0 5338 9228-9, 0 5324 8004 โทรสาร 0 5324 8483 และผู้ที่ต้องการใช้บ้านพักรับรอง หรือกางเต็นท์พักแรมต้องนำอุปกรณ์มาเองโดยติดต่อขออนุญาตล่วงหน้า เว็บไซต์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้
การเดินทางใช้เส้นทางเชียงใหม่-เชียงราย ประมาณ 23 กิโลเมตร และเลี้ยวขวาเข้าศูนย์อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
ปัจจุบันมีหมู่บ้านรอบศูนย์จำนวน 10 หมู่บ้าน และมีศูนย์สาขาจำนวน 4 แห่ง คือ
- โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
- โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
- โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการพัฒนาพื้นที่ห้วยลานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม บริเวณชายเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ทางเข้าอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 12 สายแม่ริม-สะเมิง สวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 มีพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบและที่สูงสลับกันเป็นชั้นๆ ในระดับ 300-970 เมตร จัดทำเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ลักษณะการจัดสวนของที่นี่จะแบ่งพันธุ์ไม้ตามวงศ์และความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ รวบรวมพันธุ์ไม้ทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ สามารถขับรถเที่ยวชมได้
จุดที่แวะชมได้ คือ 1. อาคารศูนย์สารนิเทศ เป็นสถานที่อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว รวมถึงเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ 2.กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ขนาดต่างๆ 12 โรงเรือน รวบรวมพรรณไม้ประเภทต่างๆจากทั่วประเทศมาปลูกแสดงไว้ในโรงเรือน เช่น ไม้ป่าดงดิบ ไม้น้ำ กล้วยไม้ ไม้แล้ง บัว ไม้ดอกไม้ประดับ บอน ไม้ไทยหายาก ไม้สกุลสัมกุ้ง สมุนไพร 3.ศูนย์วิจัยพัฒนาสง่า สรรพศรี เป็นศูนย์ข้อมูลวิชาการโดยมีนักพฤกษศาสตร์ประจำอยู่ตลอดเวลา 4. เรือนพรรณกล้วยไม้ไทย 5.โรงเรือนอนุบาลพรรณไม้ 6.อ่างเก็บน้ำแม่สาวารินทร์ 7.แปลงรวมพันธุ์ไม้ดอกขาว ซึ่งได้จัดปลูกไปแล้วกว่า 120 ชนิดและมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จัดไว้ 4 เส้น คือ 1.เส้นทางน้ำตกแม่สาน้อย-สวนหิน-เรือนรวมพันธุ์กล้วยไม้ไทย (Waterfall Trail) ระยะทาง 300 เมตร 2.เส้นทางสวนรุกชาติ (Arboretum Trail) ระยะทาง 600 เมตร 3. เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail) ระยะทาง 2 กม. 4.
เส้นทางพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระยะทาง 800 เมตร
เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.30-17.00 น. ค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท มีรถบริการนำชมภายในสวน ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 10 บาท
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อที่ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 โทร. +66 5384 1234 โทรสาร +66 5329 8177, +66 5329 9754
ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ
ตั้งอยู่ที่บ้านแม่สา ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม มีเนื้อที่ราว 100 ไร่ เป็นแหล่งการเรียนรู้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในแบบ edutainment สำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการและการสาธิต มีแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงพืชผสมผสาน ส่วนสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง และมีนิทรรศการโครงการสาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพ เป็นต้น เปิดทุกวันเวลา 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชมศูนย์ 10 บาท เยี่ยมชมศูนย์และทำกิจกรรม 40 บาท เข้าค่ายฝึกอบรมพักแรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. +66 5329 9758
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง เรื่องกำเนิดของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางแห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512
มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอร์รี่ สาลี่ ราสเบอรี่ พลับ กีวี ลูกไหน เป็นต้น พืชผักเมืองหนาว เช่น แครอท ผักสลัดต่าง ๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ จำหน่ายผลิตผลตามฤดูกาลที่ปลูกในโครงการฯ และมีที่พักบริการ เปิดเวลา 06.00-18.00 น.
สวนส้มธนาธร
ก่อตั้งโดยคุณบัณฑูร จิระวัฒนากูล สวนส้มธนากรนัมเบอร์ 1 สายน้ำผึ้ง ส้มฟรีมองต์ ส้มโอเชี่ยนฮันนี่ไร้เมล็ด ส้มผิวทอง ที่สลับกันออกผลตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ประกอบด้วย 2 สวนคือ สวนส้มธนาธร 2 (บ้านลาน) เริ่มเพาะปลูกใน พ.ศ. 2527 ในพื้นที่อำเภอฝาง บนพื้นที่กว่า 700 ไร่ โอบล้อมด้วยธรรมชาติขุนเขา และวิวทิวทัศน์ที่งดงามของสวนส้มที่ออกผล ให้ความรู้ในเรื่องการปลูกส้มแก่ผู้ที่สนใจ ชมวิธีการปลูกมีผักไฮโดรโพนิกส์ ชิมผักสลัดสด และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สดใหม่จากสวน ทางสวนมีบริการรถเรือและรถกอล์ฟนำชมพื้นที่ค่าบริการ 30 บาท/คน
สวนธนาธร 8 หรือสวนท่าตอน เพาะปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย บนพื้นที่ประมาณ 450 ไร่ เพาะปลูกส้ม 2 สายพันธุ์ ได้แก่ส้มสายน้ำผึ้งและโอเชี่ยนฮันนี่ไร้เมล็ด พื้นที่เป็นเนินเขามีจุดชมวิวมองเห็นแม่น้ำกก สามารถนั่งรถเรือชมทิวทัศน์ภายในสวนและเลือกเก็บส้มสด ๆ จากต้น เลือกซื้อของฝากจากร้านขายของที่ระลึก อาทิ ส้มสดจากสวน เทียนหอม กระเป๋า เป็นต้น
สวนธนาธร 8 หรือสวนท่าตอน เพาะปลูกครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย บนพื้นที่ประมาณ 450 ไร่ เพาะปลูกส้ม 2 สายพันธุ์ ได้แก่ส้มสายน้ำผึ้งและโอเชี่ยนฮันนี่ไร้เมล็ด พื้นที่เป็นเนินเขามีจุดชมวิวมองเห็นแม่น้ำกก สามารถนั่งรถเรือชมทิวทัศน์ภายในสวนและเลือกเก็บส้มสด ๆ จากต้น เลือกซื้อของฝากจากร้านขายของที่ระลึก อาทิ ส้มสดจากสวน เทียนหอม กระเป๋า เป็นต้น
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. +66 5334 6554-6, +66 5388 3392-7, +66 5388 3420-2 โทรสาร +66 5334 6598, +66 5388 3833 หรือ www.tntorchard.com
การเดินทางรถยนต์ ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ผ่านอำเภอแม่ริม แม่แตง เชียงดาว ไชยปราการ ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร รถประจำทาง เชียงใหม่-ฝางออกจากสถานีขนส่งช้างเผือก
ม่อมแจ่ม ตั้งอยู่บนสันเขาบริเวณหมู่บ้านม้งหนองหอย อำเภอแม่ริม อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 40 นาที เดิมที่บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่ากิ่วเสือเป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านเข้ามาแผ้วถางและปลูกผิ่น จนในท้ายที่สุดโครงการหลวงมาขอซื้อพื้นที่เข้าโครงการหลวงหนองหอย เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลวง คุณแจ่ม-แจ่มจรัส สุชีวะ หลานตาของ ม.จ. ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงบริเวณม่อนแจ่มให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโดยเฉพาะในลักษณะของม่อนแจ่มแค้มปิ้งรีสอร์ท ซึ่งม่อนแจ่มเพิ่งจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือน พ.ย. 2552
ม่อนแจ่มมีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีหมอกยามเช้า ช่วงที่เหมาะสำหรับท่องเที่ยวคือ เดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์ มีจุดชมวิวสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ทิวภูเขาสลับกันไกลสุดลูกหูลูกตา อีกด้านเป็นแปลงปลูกพืชและไม้เมืองหนาวของโครงการหลวง
ยอดเขาทางทิศตะวันออกมีจุดชมวิวม่อนล่อง เหมาะสำหรับชมทิวทัศน์ของพื้นที่โครงการหลวง เป็นจุดชมทะเลหมอกบนหน้าผา มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล ชมพรรณไม้และดอกไม้ป่า เส้นทางขึ้นไม่ได้ลาดยางหรือเทปูน เป็นทางดินลูกรัง ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
ทางด้านทิศใต้เป็นไหล่เขามองลงไปจะเห็นหมู่บ้านม้งหนองหอยและพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยโดยรอบ ซึ่งเป็นแปลงปลูกผักและวิจัยพืชผักเมืองหนาว เช่น อาติโช๊ค แปลงสมุนไพรเลมอนทาร์ม มิ้น คาร์โมมายด์ โรสแมรี่ ไม้ผล เช่น พลัม องุ่นไร้เมล็ด สตรอเบอรี่พันธุ์ 80 แปลงผักไฮโดรโพนิค การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น โอ้คลีฟแดง และผักตระกูลสลัด มะเขือเทศดอยคำ ฯลฯ
บนม่อนแจ่มมีร้านอาหาร เปิดบริการเวลา 09.00 - 19.00 น. (ช่วง เดือน ส.ค.-ก.ย.) และ 09.00 - 21.00 น. (ช่วงเดือน ต.ค.-ก.พ.) ปรุงอาหารโดยใช้ผลิตผลท้องถิ่นที่ปลูกเอง มีที่พักในลักษณะแคมปิ้ง รีสอร์ท เปิดให้บริการบนม่อนแจ่ม ราคา 700-2,000 บาท สอบถามรายละเอียด และจองที่พักได้ที่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ฝ่ายประชาสัมธ์โครงการหลวง โทร.053 810 765 ต่อ 108
คุณนก หรือ คุณอัน โทร.081 806 3993
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น