วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การคมนาคม

          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) เป็นเส้นทางหลวงสายหลัก เชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือด้านตะวันออก และจังหวัดภาคเหนือด้านตะวันตก โดยเริ่มต้นจากทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ทางหลวงสายเอเชีย) อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเส้นทางตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว เข้าสู่เขตจังหวัดพิจิตร ผ่านอำเภอดงเจริญ แล้วตัดกับทางหลวงหมายเลข 113 (พิจิตร-บ้านวังชมภู) ที่บ้านเขาทราย อำเภอทับคล้ออำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก เข้าสู่เขตจังหวัดพิษณุโลก โดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ที่อำเภอวังทอง โดยใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จนถึงสี่แยกอินโดจีน ตำบลสมอแข อำเภอเมืองพิษณุโลก จึงได้เริ่มต้นเส้นทางอีกครั้งหนึ่ง ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวัดโบสถ์ ตำบลทับยายเชียงอำเภอพรหมพิราม เข้าเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านตำบลนาอิน ตำบลนายาง อำเภอพิชัย ตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน ตำบลวังกะพี้ ตำบลป่าเซ่า ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลงิ้วงามอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขึ้นเขาพลึงเข้าเขตจังหวัดแพร่ โดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 (กำแพงเพชร-น่าน) ที่ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย และใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 มาทางทิศใต้ แล้วเริ่มต้นเส้นทางที่ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย ไปทางทิศตะวันตก ผ่านอำเภอลอง เข้าเขตจังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่เส้นทางเลี่ยงเมืองลำปางที่ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอห้างฉัตร ขึ้นเขาขุนตาล เข้าสู่เขตจังหวัดลำพูน ผ่านอำเภอแม่ทา อำเภอเมืองลำพูน เข้าสู่เขตจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำเภอสารภี อำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นถนนอ้อมเมืองเชียงใหม่หรือหากนับเป็นถนนวงแหวน ถนนสายนี้ถือเป็นถนนวงแหวนรอบในของเมืองเชียงใหม่ ไปสิ้นสุดเส้นทางโดยบรรจบกับถนนสุเทพในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ใกล้ทางแยกเข้ากองบิน41
          เนื่องจากทางหลวงแผ่นดินสายนี้ ก่อสร้างในระยะเวลาแตกต่างกันเป็นช่วง ๆ ทำให้มีเส้นทางไม่ติดต่อกัน โดยกรมทางหลวง ได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงลำปาง-เชียงใหม่ เป็นลำดับแรกในช่วงปี พ.ศ. 2512 ต่อมาได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงพิษณุโลก-เด่นชัย โดยบางส่วนทับแนวทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1086 (พิษณุโลก-วัดโบสถ์) ที่สร้างไว้เดิม ในช่วงปี พ.ศ. 2524 ยกระดับทางหลวงหมายเลข 112 (วังทอง-บ้านเขาทราย) พร้อมกับก่อสร้างเส้นทางช่วงอินทร์บุรี-เขาทรายในช่วงเวลาเดียวกัน และก่อสร้างเส้นทางช่วงเด่นชัย-ลำปางเป็นลำดับสุดท้าย จึงแล้วเสร็จตามโครงการตลอดสาย
          ในช่วงปีพ.ศ. 2549-2550 กรมทางหลวงได้ก่อสร้างเส้นทางช่วงเลี่ยงเมืองลำปาง จากสามแยกโยนก (หน้าศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง) ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง ไปบรรจบกับเส้นทางช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ที่สี่แยกภาคเหนือ ทำให้เส้นทางสายนี้เชื่อมต่อกันตั้งแต่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
          ในปัจจุบันกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้รับโอนสายทาง ถนนนิมมานเหมินทร์ จากเทศบาลนครเชียงใหม่ ระยะทาง 1+327 กม.ทำให้สายทางหลวงแผนดินหมายเลข 11 ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันมีระยะทางเพิ่มขึ้น 1+327 กม. โดยถนนช่วงนี้จะเป็นช่วงถนนนิมานเหมินทร์ทั้งสายจากแยกรินคำ บรรจบกับถนนสุเทพ ใกล้แยกทางเข้ากองบิน 41 เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ - แยกรินคำ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (โครงการเดิมถูกยกเลิกไป ปัจจุบันได้มีการนำมาศึกษาความเป็นไปได้ใหม่ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีที่มาประชุมรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 15 มกราคม 2555)
           แต่เดิม ถนนสายนี้ทั้งหมดเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน แล้วในปี 2544 ถนนได้รับการขยายเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร โดยแบ่งเป็นถนนขาไป และขากลับ ฝั่งละ 2 ช่องทางจราจร โดยถนนช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ได้รับการขยายเป็น 4 ช่องทางจราจรเป็นช่วงแรก ซึ่งเสร็จเมื่อปี 2544 แล้วต่อมา เมื่อปี 2547 ช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ก็ได้รับการขยายให้เป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแบบดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ ในขณะที่ช่วงอุตรดิตถ์-เด่นชัย ก็ได้รับการขยายเป็น 4 ช่องทางจราจรแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งช่วงแล้ว เมื่อปี 2555 ส่วนถนนช่วง อ.เด่นชัย-ลำปาง ช่วงลำปาง-อ. แม่ทะ ก็ได้รับการขยายเป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแล้ว และแนวถนนจากอ. แม่ทะ-อ. เด่นชัย รวมทั้งทางหลวงหมายเลข 101 ในช่วงอำเภอเด่นชัย ปัจจุบันยังคงเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาแนวเส้นทาง เพื่อที่จะดำเนินการขยายให้เป็นถนน 4 ช่องทางจราจร ไป-กลับ ตลอดแนว ส่วนช่วงวังทอง-สากเหล็ก ก็ได้รับการขยายเป็นถนน 4 ช่องทางจราจรแล้ว ส่วนที่เหลือ ตั้งแต่สากเหล็ก-อินทร์บุรี ก็ยังคงเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร วิ่งสวนกัน
         ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 หรือมอเตอร์เวย์สายเหนือ เป็นโครงการทางหลวงพิเศษเชื่อระหว่างเมือง เริ่มต้นจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นสู่ภาคเหนือ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2540 ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเส้นทาง 6 สายต่อเนื่องกัน (ระยะทางตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2540) ได้แก่
-                    สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 175 กิโลเมตร
-                    สายนครสวรรค์-พิษณุโลก ระยะทาง 142 กิโลเมตร
-                    สายพิษณุโลก-ลำปาง ระยะทาง 182 กิโลเมตร
-                    สายลำปาง-ลำพูน ระยะทาง 60 กิโลเมตร
-                    สายลำพูน-เชียงใหม่ ระยะทาง 39 กิโลเมตร
-                    สายเชียงใหม่-เชียงราย ระยะทาง 151 กิโลเมตร

          โดยจะเริ่มดำเนินการสายบางปะอิน-นครสวรรค์ เป็นเส้นทางแรกเป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 ที่เริ่มดำเนินการเป็นโครงการแรก แนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) โดยมีแนวเส้นทางตัดใหม่ช่วงต้นและช่วงปลายของเส้นทาง รวมระยะทางประมาณ 206 กิโลเมตร




แนวเส้นทางตัดใหม่ช่วงต้น
          เริ่มจากปลายถนนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก) บริเวณจุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) บ้านคลองสอง อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบี่ยงไปทางทิศตะวันออก ผ่านจุดตัดโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา ไปบรรจบกับแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่อำเภอบางปะอิน เป็นทางหลวงพิเศษขนาด 8 ช่องจราจร ระยะทาง 10.1 กิโลเมตร

นวเส้นทางช่วงกลาง
          อยู่ในเขตทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) เริ่มต้นจากบริเวณตำบลบ้านหว้า อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านจังหวัดอ่างทองและสิงห์บุรี ไปจนถึงบ้านดอนเดื่อ ตำบลศิลาดานอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ระยะทาง 135.5 กิโลเมตรเส้นทางช่วงนี้ออกแบบเป็นทางหลวงพิเศษขนาด 6 และ 8 ช่องจราจร โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทดแทนขนานและจัดการจราจรทิศเดียวกันกับทางหลวงพิเศษทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมจุดกลับรถ สำหรับการจราจรท้องถิ่นและผู้ที่ไม่ต้องการใช้ทางหลวงพิเศษ

แนวเส้นทางตัดใหม่ช่วงปลาย
          เริ่มจากแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เบี่ยงออกไปทางด้านทิศตะวันตก ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่เขตจังหวัดนครสวรรค์ อ้อมผ่านอำเภอพยุหะคีรีด้านทิศตะวันตก อำเภอโกรกพระและตัวเมืองนครสวรรค์ด้านทิศตะวันตก ตัดถนนพหลโยธิน ข้ามแม่น้ำปิง ไปสิ้นสุดโครงการที่จุดบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 บริเวณบ้านบึงน้ำใส อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นทางหลวงพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร ระยะทาง 60.5 กิโลเมตร

การเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวง
          ประกอบด้วยทางแยกต่างระดับ 11 จุด ซึ่งเป็นการก่อสร้างใหม่และปรับปรุงทางแยกต่างระดับเดิม โดยจุดอื่นนอกเหนือจากนี้จะมีการก่อสร้างสะพานทางหลวงสายรองข้ามทางหลวงพิเศษ พร้อมวงเวียนกลับรถปลายสะพานข้ามทางหลวงพิเศษ

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
            -    ทางแยกต่างระดับบางปะอิน: ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา และถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก
            -    ทางแยกต่างระดับอยุธยา (ปรับปรุง): ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 (ถนนโรจนะ อยุธยา-วังน้อย)
            -    ทางแยกต่างระดับบางปะหัน: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347

จังหวัดอ่างทอง
-                    ทางแยกต่างระดับอ่างทอง (ปรับปรุง): ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3267

จังหวัดสิงห์บุรี
-                    ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรี-1: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 (ถนนสิงห์บุรี-ลพบุรี)
-                    ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรี-2: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 335 (ถนนเข้าเมืองสิงห์บุรี)
-                    ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (ถนนอินทร์บุรี-วังทอง)

จังหวัดชัยนาท
             -    ทางแยกต่างระดับชัยนาท (ปรับปรุง): ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน ช่วงตาคลี-ชัยนาท)

จังหวัดนครสวรรค์
               -   ทางแยกต่างระดับอุทัยธานี: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 (ถนนเข้าเมืองอุทัยธานี)
         -  ทางแยกต่างระดับนครสวรรค์-1: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน ช่วง           นครสวรรค์-กำแพงเพชร)
          -  ทางแยกต่างระดับนครสวรรค์-2: ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก)

ศูนย์บริการทางหลวงและสถานีบริการทางหลวง
          มีศูนย์บริการทางหลวง 2 แห่ง คือบริเวณทางแยกต่างระดับสิงห์บุรี-1 แยกเข้าจังหวัดลพบุรี (กม.68 ขาล่องเข้ากรุงเทพฯ และ กม.72 ขาขึ้นไปนครสวรรค์) และบริเวณถัดจากทางแยกต่างระดับอุทัยธานี (กม. 169) นอกจากนี้ยังมีสถานีบริการทางหลวง ที่มีขนาดเล็กกว่าศูนย์บริการทางหลวง โดยใช้พื้นที่สถานีบริการทางหลวงเดิมในปัจจุบันที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
           ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี หรือ ถนนวงแหวนรอบกลาง หรือ ทางหลวงชนบทหมายเลข ชม 3029 เป็นทางหลวงในจังหวัดเชียงใหม่ มีเส้นทางอ้อมรอบตัวเมืองเชียงใหม่จึงเป็นเสมือนถนนวงแหวนของเมือง มีขนาดหกช่องจราจร ความยาวทั้งสิ้น 26 กิโลเมตร โดยถนนสายนี้มีการออกแบบให้เป็นทางลอดและทางต่างระดับทั้งหมดเมื่อตัดกับถนนหลักสายอื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนทางลอดทั้งสิ้น 7 แห่ง และทางต่างระดับ 1 แห่ง ถนนเส้นนี้มีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแล

ประวัติและการก่อสร้าง
          คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2537 มอบหมายให้กรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้าง ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โครงการนี้จึงไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ตัวโครงการออกแบบและก่อสร้างตามแนวผังเมืองรวมของจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 78 (พ.ศ. 2532) มีรหัสโครงการ "ฌ3" กำหนดให้เป็นถนน 6 ช่องจราจร ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน หน้าสนามกีฬา 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ สิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองส่งน้ำชลประทาน สายแม่แตงหางดง ในเส้นทางมีสะพานข้ามแม่น้ำปิง 2 แห่ง สะพานข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง ทางลอด 7 แห่ง ที่จุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 1001 118 10061317 106 และ 108 ทางต่างระดับ 1 แห่ง ที่จุดตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ซึ่งบริเวณทางต่างระดับได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะชื่อ "สวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี" นอกจากนี้ยังตั้ง "ศูนย์ควบคุมและบำรุงรักษาถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี" เพื่อควบคุมระบบควมคุมการจราจร ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบบันทึกกล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับผู้ริเริ่มก่อสร้างถนนทางขึ้นสู่ดอยสุเทพคือ ครูบาศรีวิชัย ได้กำหนดฤกษ์ที่จะลงมือขุดจอบแรกสำหรับการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพในวันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทรงเป็นผู้ขุดจอบแรกเป็นปฐมฤกษ์ ใช้เวลาก่อสร้าง เดือน 22 วัน กระทั่งวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงเปิดถนนให้รถขึ้นดอยสุเทพเป็นครั้งแรก ซึ่งในขณะนั้นเป็นถนนดินลูกรัง มีระยะทาง 11.530 กิโลเมตร



สถานที่สำคัญบนเส้นทาง
-                    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-                    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
-                    สวนสัตว์เชียงใหม่
-                    อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
-                    ดอยสุเทพ
-                    พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์

          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 (แยกทางหลวงหมายเลข 108 (จอมทอง) – ดอยอินทนนท์) เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 ช่องจราจร เชื่อมระหว่างอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สิ้นสุดที่ยอดดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1192 ที่กิโลเมตรที่ 32 อีกด้วย

รายละเอียดของเส้นทาง
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 เป็นเส้นทาง 2 ช่องจราจร เริ่มจากแยกทางหลวงหมายเลข 108 บริเวณกิโลเมตรที่ 57 ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และตัดขึ้นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ลักษณะเส้นทางจะลาดชันขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่คดเคี้ยวมากนัก โดยอยู่ในความควบคุมของสำนักทางหลวงที่ 1(เชียงใหม่) แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1 มีระยะทางทั้งสิ้น 46.7 กิโลเมตร

ทางแยกที่สำคัญ
          มีทางแยก 2 แห่ง คือ แยกทางหลวงหมายเลข 1284 (แยกทางหลวง 1009 - บ้านขุนวาง) บริเวณกิโลเมตรที่ 26 และทางแยกทางหลวงหมายเลข 1009 - แม่แจ่ม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1192)
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (แยกทางหลวงหมายเลข 1 (เถิน)-ต่อเขตเทศบาลนครเชียงใหม่) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางแยกถนนพหลโยธิน(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง

ช่วงเชียงใหม่ลำพูน
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่นั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ มีต้นขี้เหล็กและต้นยางนาสูงใหญ่ปลูกเรียงรายตลอดสองข้างทางตั้งแต่ลำพูนจนถึงเชียงใหม่ จนเรียกกันว่าเป็น "ถนนสายต้นยาง" หรือ "ถนนต้นยาง"

ประวัติ
          ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม
(วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คอื เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังรายในราว พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) แม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101-2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว
          แม้ว่าแม่น้ำปิงจะมีการเปลี่ยนร่องน้ำ แต่ยังปรากฏว่ามีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรตามแนวแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบตามแนวแม่น้ำสายดังกล่าว เป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ และเมืองลำพูนมาจนปัจจุบัน
ถนนสายเลียบแม่น้ำปิงห่าง หรือถนนเชียงใหม่-ลำพูน มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการขึ้น โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2438 เริ่มสร้างตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ (หน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนในปัจจุบัน) เลียบตามแนวแม่น้ำปิงห่างจนถึงเมืองลำพูน
          ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางราชการได้นำต้นยางนามาให้ราษฎรช่วยกันปลูก เพื่อความร่มรื่น สวยงามตลอดสองข้างทางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนในเขตจังหวัดลำพูน ได้ปลูกต้นขี้เหล็ก รวมจำนวนต้นไม้ตลอดเส้นทางสายนี้มีจำนวนกว่าสองพันต้น ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 ถึง 20 วา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของถนนสายนี้จนถึงปัจจุบัน
   แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2
         ตอน 0100 เชียงใหม่-ขี้เหล็กหลวง กิโลเมตรที่ 4+172 ถึงกิโลเมตรที่ 30+893 รวมระยะทาง 26.721 กิโลเมตร
     แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 3
          ตอน 0201 ขี้เหล็กหลวง-สวนสน กิโลเมตรที่ 30+893 ถึงกิโลเมตรที่ 43+300 รวมระยะทาง 12.407 กิโลเมตร
ตอน 0202 สวนสน-ปิงโค้ง กิโลเมตรที่ 43+300 ถึงกิโลเมตรที่ 84+738 รวมระยะทาง 41.438 กิโลเมตร
ตอน 0203 ปิงโค้ง-ล้องอ้อ กิโลเมตรที่ 84+738 ถึงกิโลเมตรที่ 41.438 รวมระยะทาง 54.255 กิโลเมตร
ตอน 0204 ล้องอ้อ-เมืองงาม กิโลเมตรที่ 138+993 ถึงกิโลเมตรที่ 205+121 205+121รวมระยะทาง 66.128 กิโลเมตร
     แขวงการทางเชียงรายที่ 1
          ตอน 0300 เมืองงาม-แม่จัน กิโลเมตรที่ 205+121 ถึงกิโลเมตรที่ 240.301 รวมระยะทาง 35.180 กิโลเมตร

ความสำคัญ
          ทางหลวงสายนี้เป็นทางหลวงสายหลักของจังหวัดเชียงใหม่ในการติดต่อกับอำเภอต่างๆทางทิศเหนือ และเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเชียงราย

รายละเอียดของเส้นทาง
          เส้นทางนี้อยู่ในความดูแลของแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1 และแขวงการทางแม่ฮ่องสอน สำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง เริ่มต้นจากคูเมืองเชียงใหม่ บริเวณสามแยกประตูเชียงใหม่ ตัดถนนช่างหล่อ ในพื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ (ช่วงถนนวัวลาย) ผ่านอำเภอหางดง สันป่าตอง ดอยหล่อ จอมทอง และฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ณกิโลเมตรที่ 68+500 (นับจากอำเภอฮอด) ผ่านอำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อย ขุนยวม ก่อนเข้าสู่เขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน สิ้นสุดเส้นทางบนถนนขุนลุมประพาส ผ่านใจกลางเมือง และต่อเนื่องไปสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 (ถนนปาย-แม่มาลัย) รวมระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นช่วงเชียงใหม่-ฮอด ระยะทาง 88 กิโลเมตร และช่วงฮอด-แม่ฮ่องสอน ระยะทาง 265 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางในช่วงหลังนี้จะเริ่มนับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากวงเวียนอำเภอฮอด ไปจนถึงแม่ฮ่องสอน
           เส้นทางส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ยกเว้นช่วงสี่แยกสนามบินเชียงใหม่ จนถึงก่อนเข้าตัวอำเภอหางดง และช่วงที่ผ่านตัวอำเภอฮอด เป็นถนน 4 ช่องจราจร ไป-กลับ มีเกาะกลาง ทั้งนี้ เส้นทางช่วงต้นจากคูเมืองเชียงใหม่ไปจนถึงสี่แยกสนามบินเป็นเส้นทางดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่ และใช้ชื่อเดิมคือถนนวัวลาย แต่ส่วนที่เหลือไม่มีชื่อที่เฉพาะเจาะจง
          นอกจากเส้นทางปกติจากเชียงใหม่ถึงแม่ฮ่องสอนแล้ว ยังมีทางหลวงหมายเลข 108 ที่สร้างขึ้นใหม่ คือ ถนนเลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอน (สายใหม่) เชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1250 (ถนนทางเข้าเรือนประทับแรมโป่งแดง) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง ผ่านด้านทิศตะวันตกของดอยกองมู และสิ้นสุดเส้นทางที่สามแยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณก่อนถึงสะพานข้ามแม่น้ำปายที่บ้านปางหมู ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นถนน 2 ช่องจราจร ไป-กลับ

ประวัติการก่อสร้างเส้นทาง
          แนวเส้นทางถนนสายนี้ ดั้งเดิมใช้ในการเดินทางขนส่งและติดต่อค้าขายบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาแต่โบราณ เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา และเมืองมะละแหม่งเมืองท่าชายฝั่งทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ในรัฐมอญ ประเทศพม่า โดยผ่านชายแดนบริเวณแม่น้ำสาละวินที่อำเภอแม่สะเรียง
          ภายหลัง กรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างถนนสายนี้ขึ้นจากเส้นทางลำลอง กลายเป็นเส้นทางลูกรัง                               ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2506 ขนาดกว้างประมาณ 5.00 เมตร คันทางกว้างประมาณ 7-9 เมตร จนกระทั่งช่วงปี พ.ศ. 2530-2533 จึงเริ่มมีโครงการปรับปรุงเป็นผิวถนนคอนกรีตแอสฟัลต์ โดยแบ่งทำเป็นตอน ๆ ในช่วงฮอด-แม่สะเรียง, แม่ลาน้อย-ขุนยวม, ขุนยวม-บ้านห้วยโป่ง, บ้านห้วยโป่ง-ต่อเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และแม่สะเรียง-แม่ลาน้อย จนสามารถปรับปรุงผิวทางได้แล้วเสร็จตลอดทั้งเส้นทางในช่วงปี พ.ศ. 2541




ความสำคัญ
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 109 เป็นทางสายหลักที่ใช้ในการติดต่อระหว่าง อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เขตการควบคุม
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 109 แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ตอน 0100 แม่สรวย-ห้วยป่าไร่ จากกิโลเมตรที่ 0+000 ถึงกิโลเมตรที่ 31+425 ระยะทาง 31.425 กิโลเมตร อยู่ภายใต้การควบคุมของหมวดการทางแม่สรวย แขวงการทางเชียงรายที่ 1ตอน 0200 ห้วยป่าไร่-ฝาง จากกิโลเมตรที่ 31+425 ถึงกิโลเมตรที่ 61+133 ระยะทาง 29.708 กิโลเมตร อยู่ภายใต้การควบคุมของหมวดการทางฝาง แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 3
รายละเอียดของเส้นทาง
          เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ เริ่มต้นจากสามแยกแม่มาลัย จุดตัดถนนโชตนา (ถนนสายเชียงใหม่-ฝาง) บริเวณตลาดแม่มาลัย ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านอำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า และอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เข้าสู่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ก่อนสิ้นสุดเส้นทางบนถนนขุนลุมประพาส ผ่านใจกลางเมือง และต่อเนื่องไปเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตลอดเส้นทางมีลักษณะคดเคี้ยวและขึ้นเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่

ทางแยกที่สำคัญ
-                    แยกแม่มาลัยเดิม (บ้านแม่มาลัย)
-                    ทางแยกบรรจบถนนเลี่ยงเมืองแม่มาลัย
-                    ทางเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
-                    แยกแม่ปิง (ไปบ้านวัดจันทร์) กม.85
-                    แยกราษฎร์ดำรง (ปาย-แม่เย็น-ท่าปาย)
-                    แยกเข้าถ้ำลอด
-                    แยกนาปู่ป้อม กม.152
-                    แยกทุ่งมะส้าน (แม่ฮ่องสอน-นาปลาจาด-ห้วยผึ้ง) กม.188
-                    ทางเข้าถ้ำปลา
-                    ทางแยกเข้า บ.หมอกจำแป่
-                    แยกกุงไม้สัก (ไปบ้านรักไทย)
-                    แยกปางหมู (เลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอนสายใหม่)
-                    แยกทุ่งกองมู
-                    แยกประตูเมืองแม่ฮ่องสอนทิศใต้ (เลี่ยงเมืองแม่ฮ่องสอนสายเดิม)
-                    แยกสะพานขัวแดง
-                    แยกปางล้อนิคม
-                    แยกประชาอุทิศ (ประชาอุทิศ-ขุนลุมประพาส ซอย 2)
-                    แยกหลังตลาดสด (ถนนพาณิชย์วัฒนา)
-                    สี่แยกกลางเมืองแม่ฮ่องสอน

 สถานที่สำคัญบนเส้นทาง
-                    อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังและโป่งเดือดป่าแป๋
-                    อำเภอปาย
-                    ถ้ำลอดปางมะผ้า
-                    อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ
-                    พระตำหนักปางตอง
-                    โครงการตามพระราชดำริปางตอง 1 (บ้านห้วยมะเขือส้ม), 2 (ปางอุ๋ง) และ 3 (หมอกจำแป่-แม่สะงา) และหมู่บ้านรักไทย

          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1192 (แยกทางหลวงหมายเลข 1009 – แม่แจ่ม) เป็นเส้นทางสายรองที่ใช้เข้าสู่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางขึ้นดอยอินทนนท์อีกเส้นทางหนึ่งทางฝั่งอำเภอแม่แจ่มอีกด้วย

รายละเอียดของเส้นทาง
          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1192 เป็นเส้นทาง 2 ช่องจราจร เริ่มจากแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ณ หลักกิโลเมตรที่ 26 สิ้นสุดที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางทั้งสิ้น 20.88 กิโลเมตร อยู่ในความควบคุมของสำนักทางหลวงที่ 1(เชียงใหม่) แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1

รายละเอียดของเส้นทาง
          เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ ผิวทางลาดยาง เส้นทางส่วนใหญ่เป็นทางคดเคี้ยวขึ้นลงเขา แต่ไม่สูงชันมากนัก อยู่ในความดูแลของสำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง แบ่งการดูแลออกเป็น 2 ช่วง
          ช่วงขุนยวม-ปางอุ๋ง ระยะทาง 20.525 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของแขวงการทางแม่ฮ่องสอน เส้นทางเริ่มต้นจากสามแยกขุนยวม แยกขวาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (มุ่งหน้าตัวเมืองแม่ฮ่องสอน) บริเวณกิโลเมตรที่ 201.1872 หน้าโรงเรียนขุนยวมวิทยา ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผ่านตำบลแม่อูคอ ที่หมู่บ้านปู่กู บ้านใหม่พัฒนา บ้านนางิ้ว บ้านหัวปอน สิ้นสุดที่เส้นแบ่งเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับจังหวัดเชียงใหม่ บริเวณดอยมือกา ใกล้หมู่บ้านปางอุ๋ง
          ช่วงปางอุ๋ง-แม่นาจร ระยะทาง 46.200 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของหมวดการทางแม่แจ่ม แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 1 ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มต้นจากบริเวณหมู่บ้านปางอุ๋ง ตำบลแม่ศึก สิ้นสุดเส้นทางที่สามแยกแม่ศึก จุดตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088 (แม่แจ่ม-วัดจันทร์) ใกล้หมู่บ้านแม่นาจร ตำบลแม่นาจร

ประวัติการก่อสร้างเส้นทาง
           ช่วงขุนยวม-ปางอุ๋ง ระยะทาง 20.525 กิโลเมตร
เดิมเส้นทางนี้ระหว่างกิโลเมตรที่ 0 ถึง 10.800 เป็นทางลำลอง กว้าง 3-4 เมตร เป็นทางดินตลอด ใช้ได้เฉพาะฤดูแล้ง ต่อมาหน่วยทหารช่างก่อสร้างที่ 4 ได้ก่อสร้างและขยายเป็นทางมาตรฐาน พร้อมกับก่อสร้างและบุกเบิกเส้นทางส่วนที่เหลือช่วงกิโลเมตรที่ 10.800-20.517 จากนั้นได้มอบสายทางนี้ให้กับกรมทางหลวงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2523 
          ช่วงปางอุ๋ง-แม่นาจร ระยะทาง 46.200 กิโลเมตร กรมทางหลวงได้รับมอบสายทางจากกองทัพภาคที่ 3 ในช่วงปี พ.ศ. 2536-2537

ทางแยกที่สำคัญ
          -  สามแยกขุนยวม ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108
          -  สามแยกบ้านนางิ้ว (กิโลเมตรที่ 12.100) ตัดทางหลวงชนบท มส.4009 (แยกทางหลวง หมายเลข 1263-บ้านหนองเขียว) เส้นทางไปทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ
          -  สามแยกแม่ศึก ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1088

รายละเอียดของเส้นทาง
          เส้นทางนี้อยู่ในการดูแลของแขวงการทางแม่ฮ่องสอน สำนักทางหลวงที่ 1 (เชียงใหม่) กรมทางหลวง เริ่มต้นจากแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 (ถนนแม่มาลัย-ปาย) กิโลเมตรที่ 85+225 ด้านซ้ายทาง (จากแม่มาลัย) ที่บ้านแม่ปิง ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เลียบไปตามริมฝั่งห้วยแม่ยะและแม่น้ำปาย ผ่านบ้านเมืองแปง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ ข้ามแม่น้ำแม่แจ่ม และสิ้นสุดที่หมู่บ้านวัดจันทร์ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่แยกตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1349 (สะเมิง-วัดจันทร์) รวมระยะทาง 43.913 กิโลเมตร เส้นทางเป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย กว้าง 7.00 เมตร เขตทางกว้างข้างละ 20.00 เมตร

ประวัติการก่อสร้างเส้นทาง
          แนวเส้นทางสายนี้ เดิมเป็นทางลำลองของเหมืองแร่มหาลานนาและทางเดินเท้าเข้าสู่หมู่บ้านวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม (เดิม) จังหวัดเชียงใหม่ ความกว้าง 2.5 เมตร กรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างโดยขยายคันทางเดิมและปรับปรุงช่วงที่ลาดชันในปี พ.ศ. 2523-2524 จากนั้นได้ปรับปรุงเส้นทางช่วง 12 กิโลเมตรแรกเป็นผิวทางลูกรังในปี พ.ศ. 2526 และได้เร่งดำเนินการก่อสร้างผิวทางลูกรังในส่วนที่เหลือเพื่อสนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์เมื่อปี พ.ศ. 2527 แต่เนื่องจากกำลังคนและเครื่องจักรไม่พอ ทางแขวงการทางแม่ฮ่องสอนจึงดำเนินการจากกิโลเมตรที่ 12 ถึง 28 และศูนย์สร้างทางลำปางดำเนินการตั้งแต่กิโลเมตรที่ 28 เป็นต้นไป จากนั้นในปี พ.ศ. 2528 จึงได้ตัดลาดเชิงเขาแก้ความลาดชันเป็นแห่งๆ ในช่วง 28 กิโลเมตรแรก และได้รับมอบเส้นทางช่วงกิโลเมตรที่ 0 ถึง 26+931 เป็นทางบำรุงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ในภายหลังมีการปรับปรุงเส้นทางเป็นระยะๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2545 จนกระทั่งการปรับปรุงล่าสุด ทำให้เส้นทางนี้เป็นถนนลาดยางตลอดสายเมื่อปี พ.ศ. 2550




 รายชื่อทางแยก
-                   -  แยกแม่ปิง
-                   -  แยกวัดจันทร์

สถานที่สำคัญบนเส้นทาง
  •          น้ำพุร้อนเมืองแปง
  •          หน่วยพิทักษ์ป่าแม่สา
  •          อ่างเก็บน้ำห้วยจันทร์ และอ่างเก็บน้ำห้วยอ้อ
  •            ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
  •           หมู่บ้านวัดจันทร์


          ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1270 (แยกทางหลวงหมายเลข 108 (กองลอย)-แม่แฮใต้) เป็นถนนขนาด 2ช่องจราจร โดยเริ่มต้นจากบ้านกองลอย อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่หรือเริ่มต้นจาก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ที่บริเวณกิโลเมตรที่ 55 และสิ้นสุดที่บ้านแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ทางแยกที่สำคัญ
-                    แยกกองลอย

           ถนนนิมมานเหมินท์ (ออกเสียง นิมมานเหมิน) ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นถนนสายสำคัญทางเศรษฐกิจสายหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ เชื่อมระหว่างแยกรินคำ กับถนนสุเทพ โดยชื่อ นิมมานเหมินท์ เป็นชื่อสกุลของผู้บริจาคที่ดินบริเวณนี้ และในปัจจุบันกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ได้รับโอนสายทาง ถนนนิมมานเหมินท์ จากเทศบาลนครเชียงใหม่ ระยะทาง 1+327 กม.ทำให้สายทางหลวงแผนดินหมายเลข 11 ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบันมีระยะทางเพิ่มขึ้น 1+327 กม. โดยถนนช่วงนี้จะเป็นช่วงถนนนิมานเหมินท์ทั้งสายจากแยกรินคำ บรรจบกับถนนสุเทพ ใกล้แยกทางเข้ากองบิน 41 เพื่อรองรับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ - แยกรินคำ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (โครงการเดิมถูกยกเลิกไป ปัจจุบันได้มีการนำมาศึกษาความเป็นไปได้ใหม่ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีที่มาประชุมรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 15 มกราคม 2555)นายกี และ นางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้บริจาคที่ดินให้แก่สาธารณะ เพื่อสร้างถนนเชื่อมถนนสุเทพ เข้ากับถนนห้วยแก้ว[1] จนกระทั่งในปัจจุบันถนนนิมมานเหมินท์ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจังหวัด เป็นถนนสายที่มีทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ที่พัก และแหล่งบันเทิงจำนวนมาก ทำให้ถนนสายนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ถนนสายที่ฮิตที่สุดของเชียงใหม่ถนนนิมมานเหมินท์ เป็นถนนสายสั้นๆ มีความยาวเพียงประมาณ 1.327 กิโลเมตร มีซอยทั้งหมด 17 ซอย(นิมมานเหมินท์ ซอย 1-17) เป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น